บทนำ"สุนัขพันธุ์ปั๊ก"
ปัก
เป็นสุนัขสายพันธุ์เก่าแก่พันธุ์หนึ่ง
เป็นสายพันธุ์ที่มนุษย์ชมชอบมาตั้งแต่ 400
ปีก่อนคริสตกาล ที่มาของสายพันธุ์ปัก
ยังเป็นปริศนา แต่ผู้รู้ทั้งหลายเชื่อว่า มีที่มาจากทางซีกโลกตะวันออก
เพราะมีลักษณะพื้นฐานบางประการคล้ายกันกับสายพันธุ์ปักกิ่ง(Pekingese) ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน
และเป็นสัตว์เลี้ยงของราชวงศ์ธิเบต
ต่อมาปรากฏหลักฐานว่ามีสายพันธุ์ปักอยู่ที่ญี่ปุ่นและในยุโรป
และเป็นที่โปรดปรานในราชสำนักต่าของยุโรปอย่างมาก เช่น ในฮอลแลนด์ในฮอลแลนด์ ปัก กลายเป็นสุนัขประจำ Mouse
of Orange เนื่องจากมีปักตัวหนึ่งช่วยชีวิตเจ้าชายวิลเลี่ยม"
Prince of Orange" ไว้ได้ เหตุเกิดในปี ค.ศ. 1572
โดยเตือนให้พระองค์รู้ว่าศัตรูกำลังเข้ามาใกล้ ดังนั้นบนหลุมศพของเจ้าชายวิลเลี่ยมที่ Delft
Cathedral ยังมีรูปสลักของพระองค์โดยมีเจ้าปัก
คู่พระทัยอยู่เคียงแทบพระบาท
ปักได้ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับพระองค์มาตลอด ดังที่ปรากฏว่าเมื่อวิลเลี่ยมที่ 2
เดินทางมารับตำแหน่งพระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษ พระองค์ได้นำข้าราชบริพาร
ซึ่งก็รวมทั้งเจ้าปัก ตัวโปรดไปด้วย
ในฝรั่งเศสความนิยมสุนัขพันธุ์นี้เริ่มแพร่หลายในช่วงปี
ค.ศ. 1790 เมิ่อโจเซฟิน ภรรยาของนโปเลียน
ใช้ปักของเธอชื่อว่า ฟอร์จูน(Fortune)
เป็นผู้นำสารจากเธอไปสู่ผู้เป็นสวามี
ขณะที่เธอถุกคุมขังอยู่ที่ Les Carmes
โดยใช้วิธีเขียนข้อความลงบนกระดาษแล้วพับสอดไว้ใต้ปลอกคอของสุนัข
มีเรื่องเล่ากันสืบมาว่า
ฟอร์จูน เป็นสุนัขที่หวงเจ้าของมากเพราะว่ามันกัดนโปเลียนในคืนวันเข้าหอ
หรือคืนวันแต่งงานกับโจซิฟินที่มาของสายพันธุ์ปักนั้น
มีคำอธิบายแตกต่างกันไปมากมาย เช่นว่า ที่ฮอลแลนด์เรียกมันว่า Mopshond แปลว่า
บ่นที่เยอรมันเรียกว่า Mops และที่ฝรั่งเศสเรียกว่า Carlin แต่คำอธิบายที่ดูน่าจะใกล้เคียงที่สุด
คือ ใบหน้าของสุนัขชนิดนี้คล้ายกับลิงชนิดหนึ่งที่ชื่อ marmoset ซึ่งลิงชนิดนี้ถูกเรียกว่า
Pugs และเป็นสัตว์ที่นิยมเลี้ยงกันมากในช่วงต้นศตวรรษที่
18
ดังนั้นเพื่อให้มีการแยกแยะสัตว์ทั้งสองชนิดนี้ได้ง่าย จึงเรียกสุนัขว่า Pug
Dog และเรียกสืบต่อกันมาถึงทุกวันนี้
ในปี ค.ศ. 1860
ทหารอังกฤษบุกรุกพระราชวังอิมพีเรียลของจีน
ในบรรดาทรัพย์สมบัติที่นำกลับไปอังกฤษ
มีสุนัขปักและปักกิ่ง รวมอยู่ด้วย
นับเป็นครั้งแรก(หลังจากต้นศตวรรษที่16) ที่มีการนำสุนัขจำนวนมากมายออกจากประเทศจีน ต่อมาในปีค.ศ.1886
ชาวอังกฤษสั่งซื้อ Black Pugs จากจีนแล้วนำมาแสดงที่อังกฤษเป็นครั้งแรก
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านั้น 1 ปีคือในปี ค.ศ. 1885
สุนัขสายพันธุ์นี้ได้รับการยอมรับให้จดทะเบียนอยู่ในAmerican Kennel
Club เรียบร้อยแล้ว
ปักเป็นสุนัขที่น่ารักและซื่อสัตย์
มันมีฉายาว่า Multum in Parvo ซึ่งเหมาะกับมันมาก ฉายานี้แปลว่า
" a lot of dog in a small space" หรือ เหมือนมีสุนัขหลายตัวรวมอยู่ในเจ้าปักตัวเล็กๆ
เพียงตัวเดียว
ปักมีบุคคลิกลักษณะที่ดีเหมือนกับพร้อมจะแสดงอยู่ตลอดเวลา
ถึงแม้จะตัวเล็กแต่ก็ไม่ต้องการการเอาอกเอาใจมาก
และแม้ใบหน้าดูเหมือนเป็นจอมขี้โกง
แต่สำหรับผู้ที่คิดจะมีใจผูกพันกับมันแล้ว
หน้าตาแบบนี้เองที่สามารถมัดใจไว้ได้ ไม่ว่าชายและหญิง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกเด็กๆ อาจกล่าวได้ว่า
ปักเป็นสุนัขที่เกิดมาเพื่อจะอยู่ใกล้ชิดกับมนุษย์และทำให้มนุษย์มีความสุข
ปักอยู่ที่ไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นในบ้าน บ้านสวน
หรือแม้ในอพาร์ทเมนท์เล็กๆ
เพราะมันเป็นสุนัขที่ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ ได้ง่าย
**ลักษณะมาตรฐานสายพันธุ์ Pug**
อุปนิสัย : สามารถอยู่ในที่เล็กๆได้หรือสามารถอยู่ร่วมกันหลายตัวได้
โครงสร้าง : ลำตัวเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสและดูกระชับได้สัดส่วน
สุนัขมีลำตัวซูบผอม ขาสั้น
หรือยาวเกินไป
ศีรษะ : มีขนาดใหญ่ ลักษณะกลม หนังหัวบริเวณหน้ามีรอยย่นมาก
หู : มีขนาดเล็ก
ใบหูค่อนข้างบาง หูพับไปด้านหน้าหรือด้านหลัง แต่หูพับไปด้าน
หน้าจะได้รับความนิยมมากกว่า
ตา : สีเข้ม
ลักษณะกลมโต
ปาก : มีขนาดสั้น รูปร่างคล้ายทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส
จมูก : ควรสั้นแลดูหน้าทู่เหมือนสุนัขพันธุ์ปักกิ่งเวลามองตรงเข้าไปจากกหน้า
จมูก
ปาก : ควรมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
จมูกควรมีสีดำ ฟันห้ามแลบออกมานอกปาก
ลำตัว : มีขนาดเล็ก ลำตัวล่ำสัน ลำตัวมีกล้ามเนื้อมาก
อก : กว้าง
ขาหน้า : แข็งแรงมาก ตั้งตรง ขาหน้ามีความยาวปานกลาง
เท้าไม่กลมเหมือนเท้าแมว
หรือนิ้วยาวมากเกินไปล็บสีดำ
ขาหลัง : มีลักษณะเหมือนขาหน้า
หาง : มีลักษณะม้วนอยู่เหนือสะโพก
หางม้วนสองรอบถือว่าดี
ขน-สี : ขนสั้นนุ่ม ตัวสีน้ำตาล บริเวณหน้า หู แก้ม
ควรมีเส้นตัวสีดำหรือสีดำทั้งตัว
น้ำหนัก : ประมาณ 14-18 ปอนด์
เหตุผลทีี่สนใจหัวข้อนี้
- ปั๊กเป็นสุนัขที่มีขนาดตัวและหน้าตาที่ตลก
-มีอุปนิสัยขี้เล่นมาก
-อยุ่ด้วยแล้วมีความสุข > <
รูปน่ารักๆของเจ้าปั๊ก
เรียบเรียง
นางสาวกนกวัลย์ เมาะราษี (53011020025)
สาขา การท่องเที่ยวและการโรงแรม (HOS)
คณะ การท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Tel: 0914199010
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น